Mar
ประวัติ ขนมปัง อาหารตั้งแต่ยุคโบราณ
คนปัจจุบันต่างคงรู้จัก ขนมปัง ว่าเป็นอาหารที่ทำจากแป้งสาลีที่ผสมกับน้ำ และยีสต์ หรือผงฟู แต่รู้ไหมว่าก่อนที่จะมาเป็นขนมปังแบบที่เราได้ทานกัน มีประวัติความเป็นมาอย่างไร วันนี้เรามีเนื้อหามาให้ได้ชมกัน
ประวัติในไทย
ประวัติขนมปังในช่วงสมัยอยุธยา ตอนที่ชาวยุโรปเข้ามาอยู่ที่นี่ ได้นำแป้งสาลีเข้ามาด้วย ทำขนมปังกันตามที่พวกเขาคุ้นเคยที่อยู่ประเทศบ้านเกิด ที่ต้องกินขนมปัง และมันฝรั่ง ด้วยความที่คนยุโรปยังไม่กินข้าวหุงแบบเรา และพกพาไปเป็นสะเบียงลำบาก ขนมปังจึงเป็นวิธีการกิน และการเก็บที่ง่ายกว่าข้าวหุงมาก เพราะทั้งแห้ง เบา และเก็บได้นานกว่า หากห่อผ้าแห้งไว้สามารถเก็บไว้ได้หลายวัน
คำว่า ขนมปัง ประเทศไทยรับคำศัพย์นี้ มาตรง ๆ จากภาษาฝรั่งเศส คือ Pan อ่านว่า แปง แต่คนไทยเห็นว่ามันเป็นขนมมากกว่า จึงได้เรียกว่า ขนม ขึ้นต้นคำว่า แปง จนกลายมาเป็น ขนมปัง ตามที่คนปัจจุบันเรียก
ประวัติในอียิป
ในสมัยอียีปต์โบราณนั้น พวกทาสอียีปต์โบราณ ด้วยความที่จน เสียดายของ ในขั้นตอนการทำขนมทุกครั้ง มันจะได้ทิ้งก้อนแป้งเก่าไปผสมกับแป้งที่ผสมเสร็จใหม่ๆ ทำให้แป้งที่สุกแล้วนั้น เบา ฟู และมีรสอร่อย มีหลักฐานตามจิตกรรมฝาผนังในสุสานหลาย ๆ แห่ง มีภาพวาดรูปคนถือขนมปังบูชาเทพพระเจ้า นอกจากนี้ มีการค้นพบซากโบราณของหินโม่แป้ง และเตาอบขนมปัง ซึ่งทำจากดินมีรูปร่างเป็นทรงกรวย สันนิษฐานได้ว่าเป็นต้นแบบของเตา ทันดูร
ยุคอียิปต์โบราณ แบ่งขนมปังออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ขนมปังแบบฟู ที่รับประทานกันทั่ว ๆ ไป
2. Matzos คือ ขนมปังที่มีลักษณะแบน เป็นขนมปังที่รับประทานกัน เนื่องในโอกาศพิเศษทางศาสนาเท่านั้น
ความรู้ในการทำขนมปังของชาวอียิปต์โบราณ ได้แพร่หลายสู่ภูมิภาคต่าง ๆ แถบเมดิเตอเรเนียน และเยรูซาเล็มโบราณ รวมทั้งเมืองเล็กเมืองน้อยที่อยู่บนเส้นทางค้าขายแถบตะวันออกกลาง การทำขนมปังจึงได้แพร่หลายกว้างขวางตั้งแต่นั้นมา ในยุคอียิปต์โบราณนั้น ขนมปังที่ทำออกมาจะมีขนาดเล็ก คล้ายกับขนมปังดินเนอร์โรลในปัจจุบัน
ในปัจจุบันนี้ การทำขนมปัง ถือว่าเป็นงานศิลปะอย่างหนึ่ง ที่ต้องมีการเรียนการสอนก่อน ให้เกิดความชำนาญเป็นอย่างมาก แต่วิวัฒนาการด้านเครื่องมือ และเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ ที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ ก็ได้รับการพัฒนาคิดค้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเตาอบที่ควบคุมด้วยไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแบ่งก้อนแป้ง และ ปั้นกลมอัตโนมัติ เพื่อให้การทำขนมปังมีวิวัฒนาการ เจริญก้าวหน้า และ ทันสมัยต่อไป
ประวัติในที่ต่าง ๆ
ประวัติของชาวฝรั่งเศส มีรสนิยมในการทำขนมปังมาก จนเป็นช่วงในอดีตที่คนฝรั่งเศษได้นำเอาวิธีการทำมาสู่คนเวียดนาม ทำให้เวียดนามได้สูตรการทำขนมปังจากฝรั่งเศส เป็นขนมปังเนื้อแน่น ไม่อ่อนพริ้วแบบขนมปังไทย
ประวัติของชาวอังกฤษ นิยมทำขนมปังเป็นก้อนกลม มีขนาดประมาณ 12 เซนติเมตร มีทั้งแบบนุ่ม และแข็ง โดยแบบนุ่มเรียกว่า Breakfast Roll สามารถรับประทานเป็นอาหารเช้าได้ แบบแข็งเรียกว่า Dinner Roll สามารถรับประทานกับอาหารมื้อเย็น จะมีความแข็งมาก โดยจะเสริฟขนมปังคู่กับน้ำชา เพื่อให้ทานง่ายขึ้น และอร่อยขึ้นอีกด้วย
ประวัติของชาวแดนิช ชอบขนมปังที่มีรสหวาน ๆ โดยขนมปังของเขาจะมีรสชาติที่หวานมาก เรียกว่า Danish Bread
ประวัติของชาวเยอรมัน ชอบทำขนมปังหลากหลายรูปแบบ เช่น เป็นแท่ง เป็นก้อน ทั้งก้อนเล็ก และ ก้อนใหญ่ รวมทั้งก้อนยักษ์กินหลายคน อีกด้วย และมีแบบขดเป็นวง 2 วง เรียกว่า Pretzel
ประวัติของชาวญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นจะเรียกขนมปัง ว่า ปัง ตรงตัว ชาวญี่ปุ่นขอบขนมปังมากเพราะถ้าลองเข้าร้านขนมปังในญี่ปุ่น จะพบว่ามีขนมปังทุกแบบ ที่สามารถเห็นได้ทั่วโลกเลย
ขนมปัง เรียกได้ว่าขนมอบอีกชนิดหนึ่ง ที่ได้รับการฟูมาจากการใช้ยีสต์ โดยมีส่วนผสมหลัก คือ แป้งสาลี ยีสต์ เกลือ น้ำ และ ส่วนผสม อื่น ๆ เช่น ไข่ น้ำตาล นม เนย ผลไม้ ฯลฯ เป็นส่วนผสมที่เกิดจากการนวดผสมรวมกัน ทำให้เกิดขนมปังชนิดต่าง ๆ มากมาย เช่น ขนมปังหวาน ขนมปังผลไม้เป็นต้น ขั้นตอนในการทำขนมปัง
ส่วนผสมที่สำคัญ
ขนมปัง เกิดจากโปรตีนของแป้งสาลี คือ กลูเตน เป็นโปรตีนที่มีอยู่สูงในข้าวสาลี ซึ่งต่างจากข้าวเจ้า ที่มีในขณะที่ข้าวเจ้ามี กลูเตน อยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้ข้าวเจ้าไม่สามารถนำมาทำขนมปังได้
ยีสต์
ยีสต์ คือ ส่วนสำคัญในการทำขนมปัง โดยจะถูกเติมลงไปในขนมปัง เพื่อให้ขนมปังพองฟู เพราะยีสต์จะกินน้ำตาลที่อยู่ในแป้ง และ ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ทำให้ขนมปังมีรูปร่างเป็นก้อน ยีสต์ที่ใช้ในการทำขนมปังมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบสด และ แบบผงเป็นต้น การใช้ยีสต์ที่ถูกต้อง จะต้องทำการปลุกยีสต์เสียก่อน โดยการละลายน้ำในอุณหภูมิประมาณ 38 องซาเซลเซียส การใช้ยีสต์จึงทำได้ยากกว่า แต่ให้ผลดีที่จะให้เนื้อขนมปัง และ รสชาติดีกว่าการใช้ผงฟู ยีสต์ที่ใช้โดยทั่วไป คือ Saccharomyces cerevisiae
ผงฟู
ผงฟู คือ โซเดียมไบคาร์บอร์เนต ก็ส่วนสำคัญในการทำขนมปัง ซึ่งจะใช้แทนการใช้ยีสต์ เพราะเมื่อผงฟูผสมกับน้ำ ก็จะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่นเดียวกับที่ยีสต์ทำ แต่ก็ไม่ควรใส่ในปริมาณมากเกินไป เพราะจะทำให้มีรสชาติเฝื่อนขม และ การฟูของขนมปังก็จะหยาบกว่าการใช้ยีสต์ แต่ข้อดีคือ ใช้ได้ง่ายกว่า และก็เก็บรักษาได้นานกว่ากัน ผงฟูมีด้วยกันสองสูตรคือ สูตรหนึ่ง คือ ผงฟูที่จะปล่อยก๊าซออกมาครั้งเดียวทั้งหมดตอนที่เราผสมเข้ากับเนื้อขนมปัง สูตรสอง คือ ผงฟูที่จะปล่อยก๊าซออกมาสองครั้ง คือ ตอนที่ผสมกับเนื้อขนมปัง และ อีกครั้งตอนที่โดนความร้อนในเตาอบ
อ่านบทความเพิ่มเติม