M.K. Unigroup Corporation

เบเกอรี่ ( Bakery ) เนื้อเค้ก ( Cake ) มีกี่ประเภท

admin01
mkunigroup

เพื่อน ๆ คนไหน ที่เริ่มทำ เบเกอรี่ ( Bakery ) ประเภท เค้ก ( Cake ) บ้างคะ แล้วเพื่อน ๆ รู้กันบ้างไหมคะว่า เนื้อ เค้ก ( Cake ) นั้นไม่ได้มีเพียงเนื้อเดียว แต่มีหลากหลายประเภท วันนี้เราจึงจะมาแนะนำ เนื้อเค้ก ( Cake ) ประเภทต่าง ๆ กันค่ะ

 

 

ประเภทของ เนื้อเค้ก ( Cake )

เค้ก ( Cake ) มีเนื้อที่หลากหลาย อย่างที่เรากินกัน โดยทั่วไปนั้นจริง ๆ แล้ว สามารถแยกชนิด ของเนื้อเค้ก ( Cake ) ได้เป็น 3 ชนิด ซึ่งในที่นี้ ทางเราไม่ขอ รวมเอาพวก ชีสเค้ก ( Cheesecake ) และ มูสเค้ก ( Mousse Cake ) เข้ามานะคะ โดยจะขอพูดถึง เนื้อเค้ก ( Cake ) โดยทั่ว ๆ ไปก่อน เนื้อเค้ก ( Cake ) ทั้ง 3 ชนิดนั้นมีดังนี้

 

 

1. เนื้อเนย หรือ บัตเตอร์เค้ก ( Butter Cake )

บัตเตอร์เค้ก ( Butter Cake ) เป็นเนื้อ ที่แน่นที่สุด จากทั้งหมด 3 แบบ เพราะส่วนผสมของ บัตเตอร์เค้ก ( Butter Cake ) จะหนักที่สุด เนื่องจากมีส่วนผสม ของเนยค่อนข้างมาก และ มีอากาศในเนื้อเค้ก ( Cake ) น้อยกว่า เนื้อเค้ก ( Cake ) อีกสองชนิด จึงทำให้ได้ เนื้อเค้ก ( Cake ) ที่ละเอียดมาก เนื่องจากรูอากาศ ใน เนื้อเค้ก ( Cake ) มีน้อย การที่ บัตเตอร์เค้ก ( Butter Cake ) มีเนื้อแน่น และ มีน้ำหนักมากกว่า เค้ก ( Cake ) อีกสองชนิด ทำให้บัตเตอร์เค้ก ( Butter Cake ) เป็นชนิดของ เนื้อเค้ก ( Cake ) ที่เหมาะกับการนำ ไปทำเป็น เนื้อเค้ก ( Cake ) ที่ต้องรับน้ำหนัก ของส่วนผสม อย่างอื่นใน เนื้อเค้ก ( Cake ) ที่ค่อนข้างมาก อย่างเช่น เค้กผลไม้ ( Fruit Cake ) ที่จะต้องมีส่วนผสม ของผลไม้แห้งชิ้นเล็ก ๆ ใน เนื้อเค้ก ( Cake ) ค่อนข้างเยอะ เป็นต้น หากเราผสมส่วนผสม ที่น้ำหนักค่อนข้างเยอะ ใน เนื้อเค้ก ( Cake ) ที่เบาจะทำให้ เนื้อเค้ก ( Cake ) นั้น ไม่สามารถรับ น้ำหนักของส่วนผสม ที่เราใส่เข้าไปได้ ทำให้ส่วนผสม จะตกลงไป กองอยู่ที่ ก้นพิมพ์ แทนที่ จะผสมรวมกับตัว เนื้อเค้ก ( Cake ) อย่างที่เราต้องการ นอกจากนั้น อาจทำให้ เนื้อเค้ก ( Cake ) ที่เบานั้น ไม่ขึ้นฟูเท่าที่ควร เพราะมีน้ำหนัก ของส่วนผสมอื่น ใน เนื้อเค้ก ( Cake ) ไปกดตัวเนื้อเค้ก ( Cake ) ไว้ ทำให้ตอน อบขนมจะขึ้นฟู ได้ยากด้วย โดยทั่วไปแล้ว บัตเตอร์เค้ก ( Butter Cake ) จะมีขึ้นตอนการทำ คือ เริ่มจากการตีเนย กับน้ำตาลจนขึ้นฟู แล้วจึงใส่ไข่เข้าไปตีด้วย สุดท้ายจึงใส่แป้ง แล้วส่วนผสมที่เหลือเข้าไป

 

 

 

2. เนื้อฟองน้ำ หรือ สปันจ์เค้ก ( Sponge Cake )

สปันจ์เค้ก ( Sponge Cake ) เป็นเนื้อที่เบากว่า บัตเตอร์เค้ก ( Butter Cake ) แต่หนักกว่า ชิฟฟอนเค้ก ( Chiffon Cake ) ส่วนใหญ่ สปันจ์เค้ก ( Sponge Cake ) นิยมนำมาเป็น เนื้อเค้ก ( Cake ) ของเค้ก ( Cake ) ที่มีการแต่งหน้า แต่อยากให้เป็น เค้ก ( Cake ) ที่กินแล้ว ไม่รู้สึกหนักเกินไป มักไม่มีการผสม ผลไม้ เมล็ดถั่ว หรือ ส่วนผสมอื่น ๆ ลงในตัว เนื้อเค้ก ( Cake ) เอง เค้ก ( Cake ) ที่เป็นเลเยอร์ ๆ หรือ เป็นชั้น ๆ นั้น ส่วนใหญ่ที่พบ ก็จะเป็น สปันจ์เค้ก ( Sponge Cake ) แยมโรล ( Jam Roll ) ต่าง ๆ ก็มักทำมากจาก สปันจ์เค้ก ( Sponge Cake ) เช่นกัน ขั้นตอนการทำ สปันจ์เค้ก ( Sponge Cake ) หลัก ๆ จะเป็นการตีไข่แดง และ ไข่ขาว ให้ขึ้นฟู ไปพร้อม ๆ กัน ขั้นตอนการทำ สปันจ์เค้ก ( Sponge Cake ) ส่วนใหญ่ จะเป็นดังนี้ คือ เริ่มจากการตีไข่ กับ น้ำตาลจนฟู จากนั้นจึงเติม ส่วนของแป้งลงไป ตามด้วยเนยละลาย ซึ่งมักจะใช้ใน ปริมาณไม่มาก เมื่อเทียบกับ บัตเตอร์เค้ก ( Butter Cake )

 

 

 

3. เนื้อชิฟฟอนเค้ก ( Chiffon Cake )

เนื้อชิฟฟอนเค้ก ( Chiffon Cake ) เป็น เนื้อเค้ก ( Cake ) ที่เบาที่สุด ส่วนใหญ่ ถ้ามีการแต่งหน้า ก็จะแต่งหน้า ให้เบา ๆ เนื่องจากความที่ เนื้อชิฟฟอนเค้ก ( Chiffon Cake ) นั้นเบามาก จึงไม่สามารถ รับน้ำหนัก ของหน้าที่มากเกินไปได้ ขึ้นตอนการทำ ชิฟฟอนเค้ก ( Chiffon Cake ) ที่แตกต่าง กว่า เค้ก ( Cake ) ชนิดอื่น คือ จะมีการแยก ไข่แดง และ ไข่ขาว เพื่อใช้ทำ ในคนละขั้นตอน  โดยมักจะเริ่ม จากการผสม ไข่แดง กับพวกแป้ง ผงฟู น้ำตาล น้ำมันพืช และ อื่น ๆ รวมไว้ด้วยกันก่อน จากนั้นจะตีไข่ขาว กับ น้ำตาล ให้ฟูตั้งยอด ซึ่งส่วนนี้จะเรียกว่า เมอร์แรงค์ ( Meringue ) แล้วสุดท้าย จึงน้ำส่วนผสม ของไข่แดง มารวมกับส่วนของ เมอร์แรงค์ ( Meringue ) ในขั้นตอนหลังสุด

 

 

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

โดนัท ขนมแป้งทอด กว่า 100 ปี

Macaron ขนมคุกกี้สอดไส้จากฝรั่งเศส